วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร


ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร

ถิ่นกำเนิด-ชาติสกุล

หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เกิดที่บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ บิดาชื่อ พ่อสนธิ์ มารดาชื่อแม่มุก นามสกุล สิมมะลี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน เป็นชาย และหญิง ๔ คน ดังนี้
๑. นางสาวเสรี สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๒๕ ปี
๒. หลวงพ่อประสิทธิ์ ปญฺญมากโร อายุ ๖๖ ปี ( พ.ศ.๒๕๔๙)
๓. นายยสมคิด สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๓๖ ปี
๔. นายสวัสดิ์ สิมมะลี มีชีวิตอยู่ อายุ ๖๒ ปี
๕. เด็กหญิงเสาร์ศักดิ์มน สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗ ปี
๖. นางทองใส คุนุ มีชีวิตอยู่ อายุ ๕๔ ปี
๗. นางสาวหนูพวน สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๒๘ ปี

ชีวิตในวัยเด็ก

หลวงพ่อประสิทธิ์ เท่ากับเป็นลูกชายคนโตของครอบครัว เมื่อมีอายุ ๗ ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ สอบไล่ได้ตำแหน่งที่ ๑ หรือ ที่ ๒ เป็นประจำทุกปี ตลอดจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ พอจบชั้นประถมแล้ว ครูใหญ่ชื่อ “ปรีชา” ให้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมพิทยานุกุล ในตัวจังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อได้ถามบิดาว่า “ จะเรียนดีหรือไม่เรียนดี” และเมื่อบิดาบอกว่ “ทำไร่ทำนาดีกว่า สบายใจดี” หลวงพ่อฯ จึงตัดสินใจช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา หลวงพ่อประสิทธิ์ เมื่อเยาว์วัย จึงเป็นแรงสำคัญช่วยงานบิดา มารดา อย่างเต็มความสามารถ ตั้งแต่ยังเรียนหนังสือชั้นประถม จนเช้าสู่วัยหนุ่มอายุ ๑๙ ปี จึงเกิดความคิดอยากเข้าวัด เนื่องจากวัดป่านิโครธาราม ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อยู่ใกล้บ้าน ท่านได้ทบทวนชีวิตฆราวาส ผ่านมาได้ช่วยบิดามารดามา จนเป็นที่พอใจแล้ว ฐานะทางครอบครัวก็พอดีๆ ไม่รวยและไม่จน และพี่น้องต่างก็โต พอจะช่วยงานของครอบครัว พ่อแม่ได้แล้ว หลวงพ่อท่านคิดว่า ได้เกิดมาใช้หนี้บุญคุณพ่อแม่พอที่ได้อาศัย ท่านมาเกิดในชาตินี้แล้ว จึงคิดมองหา เส้นทางจิต ที่คิด ไม่อยากกลับมาเกิดเป็นหนี้ภพชาติอีกต่อไป โดยเกิดศรัทธาปัญญาในทางพระพุทธศาสนา คิดจะบวชไม่มีกำหนดตลอดชีวิต หวังอยู่ปฏิบัติ ตนเพื่อหลุดพ้น ความเกิดจนถึงอมตะพระนิพพาน

บรรพชาและอุปสมบท

ต่อมาครอบครัว ได้พาหลวงพ่อเข้าไปฝากตัวกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ณ วัดโพธสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล ) เป็นพระอุปัชฌาย์
ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ.๒๕๐๔ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโพธิสมภรณ์ ในวันที่ ๑ มิถุนายน โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุดรคณานุศาสน์ เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๙ หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เจ้าอาวาสวัดป่าหมู่ใหม่ มีอายุ ๖๖ ปี พรรษา ๔๖
วัดป่าหมู่ใหม่เป็นวัดป่าสายธรรมยุต เป็นวัดที่สงบเงียบ ตั้งอยู่ท่ามกลางป่า ในเมือง และเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ได้อนุรักษ์สภาพพื้นที่ และปลูกป่าและต้นไม้มาตลอด จน ต้นไม้เติบใหญ่ จนปัจจุบัน วัดมีสภาพสมบูรณ์ร่มรื่น เหมาะสมในการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างยิ่ง ตั้งอยู่ด้านหลัง สำนักงานชลประทานแม่แตง ที่บ้านหมู่ใหม่ ห่างจากสำนักงานไป ประมาณ 1.5 กม. ภายในวัด พระ-เณร ญาติธรรม ทั้งหลายได้อาศัยแสงไปฉาย, เทียนไข, ตะเกียง ในช่วงยาม
พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญฺมากฺโร เจ้าอาวาสวัดป่าหมู่ใหม่ อายุ 66 ปี พรรษา 46 ปี ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญฺมกโร เป็นคนจังหวัดอุดรธานี หมู่บ้านหนองบัวบาน ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ ซึ่งบ้านใกล้กับวัดนิโครธาราม สมัยนั้นมี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นเจ้าอาวาส และตัวท่านได้เข้าวัดตั้งแต่เด็ก เมื่ออายุครบ 18 ปี ก็บวชเป็น สามเณร และบวชเป็นพระเมื่ออายุครบ 20 ปี คอยปฎิบัติรับใช้หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อยู่ตลอดเรื่อยมา
เมื่อหลวงปุ่อ่อน ญาณสิริ ได้มรณภาพลง ท่านก็ได้ไปปฎิบัติ และอยู่กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย ค่ำคืน เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในวัดปัจจุบัน ทั้งๆ ที่วัดเองก็มีไฟฟ้าเข้ามาถึงด้านหน้าแล้ว ก็เพียงได้ ใช้อาศัยเปิดเป็นบางจุดสำหรับศาลาด้านหน้า แต่กุฎิต่างๆ ภายในวัด ไม่ใช้ไฟฟ้า เพราะท่านอาจารย์ ประสิทธิ์ ท่านไม่ต้องการให้มี ไฟฟ้า ใน กุฎิ เพื่อที่พระ-เณร และญาติโยมสามารถปฎิบัติภาวนาได้ โดยไม่มีสิ่งอื่นมาล่อใจ หรือไขว้เขวได้
น้ำใช้สอยก็ไม่ขาดแคลนอาศัยน้ำจากชลประทานแม่แตง แต่ภายในวัดก็ยังมี บ่อน้ำ สำหรับผู้ที่ ประสงค์จะใช้สอยได้ ซึ่งน้ำบ่อก็เย็นและใสสะอาด สามารถใช้อาบ,สรงน้ำ หรือซักจีวรหรือ เสื้อ ผ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งดูคล้ายวิถีการใช้ชีวิตของคนสมัยโบราณ ซึ่งหาดูได้ยากเต็มทีในปัจจุบัน น้ำดื่มก็ได้อาศัยน้ำฝน โดยเก็บในแท็งค์ปูนหรือภาชนะเก็บน้ำฝนตามจุดต่างๆ ภายในวัด
องค์ประกอบต่างๆ นี้ ทำให้วัดป่าหมู่ใหม่ ทั้งที่อยู่ในเมือง ก็กลายเป็นวัดป่า ที่ดูโบราณ เก่าแก่ ดูศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์ ต่อผู้เข้ามาสัมผัสและพบเห็น สมกับเป็นวัดป่าจริงๆ ที่พระ-เณร และญาติธรรมทั้งหลาย เข้ามาปฏิบัติกันเพื่อมรรค ผล นิพพาน อย่างแท้จริง…..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น